โครงการแบบบ้านเพื่อประชาชน
ข้อมูลประชาชน |
บุคลากร |
ผลงานและแผนงาน |
*
1. การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ต้องเตรียมหลักฐานดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
- แบบก่อสร้างแผนผังและรายการประกอบแบบ อย่างละ 5 ชุด
- สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด (หรือเอกสารสิทธิ์อื่น ๆ)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท วัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจลงชื่อแทน นิติบุคคล
ที่ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
2. การเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่อง
- หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน (กรณีผู้ขออนุญาตมิได้เป็นเจ้าของที่ดิน)
- หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)
- หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)
- หนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว(กรณที่อยู่ในข่ายควบคุมตาม พ.ร.บ.วิศวกรรม และพ.ร.บ.วิชาชีพสถาปัตยกรรม)
- รายการคำนวณ 1 ชุด (กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่ หรือ อาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ)
- แบบระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับบ้านพักอาศัย (ตามแบบมาตรฐานกรมโยธาธิการหรืออื่น ๆ )
- หนังสือแสดงว่าคณะกรรมการการควบคุมการจัดสรรที่ดินพิจารณาให้ความเห็นชอบ
- แผนผังโครงการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตแล้ว (กรณีอาคารเข้าข่ายการจัดสรรที่ดิน)
- เตรียมแบบและใบอนุญาตเดิมที่ได้รับจากเทศบาลตำบลเวียงพางคำ จำนวน 1 ชุด (กรณีดัดแปลงอาคาร, ต่อเติม หรือต่ออายุใบอนุญาต)
3. การพิจารณา
- ในการตรวจพิจารณารายละเอียดแบบแปลน เทศบาลอาจสั่งให้ผู้ขอใบอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน หรือรายการคำนวณที่ได้ยื่นไว้ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- อาคารประเภทควบคุมการใช้ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะต้องแจ้งกองช่างทำการตรวจสอบ เพื่อขอใบรับรอง การใช้อาคารก่อนเปิดใช้อาคารหรือให้ผู้อื่นใช้
- การขออนุญาตก่อสร้างตามมาตรา 39 ทวิ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะต้องดำเนินการ
- แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบตามแบบที่กำหนด พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลและยื่นเอกสาร
1) ชื่อผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคาร (วุฒิสถาปนิก) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว
2) ชื่อของผู้รับงานออกแบบและคำนวณอาคาร (วุฒิวิศวกร) พร้อมสำเนาบัตร ประจำตัว
3) ชื่อผู้ควบคุมงาน (ตามกฎหมายวิชาชีพสถาปัตยกรรม-วิศวกรรม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว)
4) แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบ รายการคำนวณ
5) วันเริ่มต้น และวันสิ้นสุด การดำเนินการก่อสร้างอาคาร
4. ระยะเวลาในการพิจารณาในกรณีทั่วไป
- อาคารพักอาศัยไม่เกิน 2 ชั้น ใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 20 วัน ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน
- อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดใหญ่ อาคารประเภทควบคุมการใช้ ใช้เวลาในการพิจารณา 33 วัน (ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน)
- ยกเว้นในกรณีที่มีข้อขัดข้อง จะใช้เวลาพิจารณาตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
5. คำแนะนำในการขอรับอนุญาตเกี่ยวกับอาคาร (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2528)
5.1 ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแนบเอกสารเกี่ยวกับแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด พร้อมกับคำขอ อาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ต้องแนบรายการคำนวณ จำนวน 1 ชุด
5.2 เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจพิจารณาแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณ(ถ้ามี) ถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตได้
5.3 อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จแล้ว ให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคาร ยื่นคำขอใบรับรองต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
5.4 ในกรณีที่เจ้าของอาคาร ประสงค์จะใช้อาคารเพื่อกิจการประเภทควบคุมการใช้ จะเปลี่ยนการใช้อาคาร ให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารนั้น
5.5 ในกรณีที่เจ้าของอาคารประสงค์จะดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถเพื่อการอื่นและก่อสร้างที่จอดรถแทนของเดิม ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
5.6 ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
5.7 ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือใบรับรองสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือ ใบแทนใบรับรองจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย
5.8 ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่บุคคลอื่น ให้ยื่นคำขออนุญาต ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อเห็นเป็นการสมควร ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือแจ้งอนุญาต ให้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอโอนใบอนุญาตได้
5.9 แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณต้องเป็นสิ่งพิมพ์ สำเนาภาพถ่าย หรือเขียนด้วยหมึก และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- มาตราส่วน ให้ใช้มาตราเมตริก
- แผนผังบริเวณ ให้ใช้มาตราเมตริก
- แสดงขอบนอกของอาคารที่ขออนุญาตถึงขอบเขตของที่ดินทุกด้าน
- ระยะห่างระหว่างอาคารต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว และอาคารที่ขออนุญาตในขอบเขตของ ที่ดิน
- ลักษณะและขอบเขตของที่สาธารณะพร้อมด้วยเครื่องหมายทิศ
- ให้แสดงทางระบายน้ำออกจากอาคารไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ พร้อมทั้งแสดงเครื่องหมายชี้ทิศทาง น้ำไหลและส่วนลาด
- แสดงระดับของพื้นชั้นล่างของอาคารและความสัมพันธ์กับระดับทาง หรือถนนสาธารณะที่ใกล้ที่สุด และระดับพื้นดิน
- ให้แสดงแผนผังบริเวณที่จะทำการเคลื่อนย้ายอาคารไปอยู่ในที่ใหม่ให้ชัดเจน
- แบบแปลนให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100 โดยต้องแสดงแปลนพื้นรูปด้าน (ไม่น้อยกว่า 2 ด้าน) รูปตัดขวาง รูปตัดทางยาว ผังคานรับพื้นชั้นต่างๆ และผังฐานรากของอาคาร พร้อมด้วยรายละเอียด
- แบบแปลน ต้องมีรูปรายละเอียดอย่างชัดเจนเพียงพอที่จะพิจารณาตามกฎหมาย
- แบบแปลน สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่จะก่อสร้างให้ชัดเจน
- แบบแปลน สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนที่มีอยู่เดิมและส่วนที่จะดัดแปลงให้ชัดเจน
- แบบแปลน สำหรับการรื้อถอนอาคาร ให้แสดงขั้นตอนวิธีการตลอดจนความปลอดภัยในการรื้อถอน อาคาร
- แบบแปลน สำหรับการเคลื่อนย้ายอาคาร ให้แสดงขั้นตอน วิธีการ ความมั่นคงแข็งแรง ตลอดจน ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายอาคาร
- สำหรับอาคารที่มีรูปตัดทางขวางหรือรูปตัดทางยาวของอาคาร มีความกว้าง ความยาว หรือความสูงเกิน 90 เมตร แบบแปลนจะใช้มาตราส่วนเล็กกว่า 1 ใน 100 ก็ได้ แต่ต้องไม่เล็กกว่า 1 ใน 250
- แบบแปลนสำหรับการเปลี่ยนการใช้อาคาร ให้แสดงส่วนที่ใช้อยู่เดิม และส่วนที่จะเปลี่ยน
การใช้ใหม่ให้ชัดเจน
- รายการประกอบแบบแปลน ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพและชนิดของวัสดุ ตลอดจนวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับการก่อสร้างอาคาร
- รายการคำนวณให้แสดงวิธีการตามหลักวิศวกรรมศาสตร์
5.10 ผู้รับผิดชอบงานออกแบบหรือผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณ ต้องลงลายมือชื่อพร้อมกับเขียนชื่อ ตัวบรรจง ที่อยู่พร้อมกับคุณวุฒิของผู้รับผิดชอบดังกล่าวไว้ในแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบ แบบแปลน และรายการคำนวณแต่ละชุดด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตกรรมควบคุม หรือวิศวกรรมควบคุม ให้ระบุเลขทะเบียนในใบอนุญาตไว้ด้วย
6. ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
- ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
- ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้ ฉบับละ 20 บาท
- ใบรับรอง ฉบับละ 10 บาท
- ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ฉบับละ 5 บาท
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต
- ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
- ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย ฉบับละ 10 บาท
- ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
1. อาคารไม่เกิน 2 ชั้น สูงไม่เกิน 12 เมตร ตร.ม. ละ 50 สตางค์
2. อาคารไม่เกิน 3 ชั้น และสูงเกิน 12 เมตร แต่ไม่เกิน 15 เมตร ตร.ม. ละ 12 บาท
3. อาคารสูงเกิน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 15 เมตร ตร.ม. ละ 4 บาท
4. ป้าย ตร.ม. ละ 4 บาท
สำหรับประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเวียงพางคำ ก่อนดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนต่อเติม หรือการเคลื่อนย้าย อาคารต่าง ๆ ในเขตเทศบาล โปรดติดต่อขออนุญาตได้ที่กองช่าง สนง.เทศบาลตำบลเวียงพางคำ (ชั้น 2) เมื่อท่านทำการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ ให้ท่านยื่นคำร้องขอหมายเลขประจำบ้าน ได้ที่ งานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลตำบลเวียงพางคำ
7. บทกำหนดโทษ
7.1 ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้ายอาคารโดยเจ้าของอาคารไม่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล หรือผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคาร ให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต ตลอดจนเงื่อนไขที่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ ในใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7.2 ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเทศบาลฯ และฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว นอกจากต้องระวางโทษปรับตามข้อ 1 แล้วยังต้อง ระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
7.3 ถ้าเป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา หรือสาธารณสุข หรือเป็นการ กระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่าหรือซื้อขาย หรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ
7.4 การปลูกสร้างโดยต่อเติม หรือดัดแปลงอาคาร ซึ่งจำต้องได้รับอนุญาตนั้นมีกำหนด ดังต่อไปนี้
- ขยายพื้นชั้นหนึ่งชั้นใดตั้งแต่ 5 ตารางเมตร
- เปลี่ยนหลังคา หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม
- เพิ่ม ลดจำนวน หรือเปลี่ยนเสา คาน บันได และผนัง
|
ผู้ที่ประสงค์จะทำการขุดดิน ที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร หรือพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตร.ม.ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด
ผู้ขออนุญาตขุดดินต้องเตรียมหลักฐาน ดังนี้
1. แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
2. แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
3. วิธีการขุดดินและการขนดิน
4. ระยะเวลาทำการขุดดิน
5. ชื่อผู้ควบคุมงาน
6. ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
7. เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. 2548
ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง และมีพื้นที่ ของเนินดินไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินเกิน 2,000 ตารางเมตร นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำ จะต้องแจ้งการถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด
บทกำหนดโทษ
- ผู้ใดทำการขุดดินหรือทำการถมดินโดยไม่ได้รับใบแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดิน ฉบับละ 500 บาท
* ก่อนดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน ต่อเติม หรือเคลื่อนย้ายอาคารต่าง ๆ ในเขตเทศบาลตำบลเวียงพางคำ โปรดติดต่อขออนุญาตที่กองช่าง เทศบาลตำบลเวียงพางคำ สอบถาม ติดต่อสอบถาม โทรศัพท์. 0-5364-6569 โทรศัพท์สายด่วน 086-421-8191 หรือขัดข้องประการใด สอบถามปลัดเทศบาล โดยตรง 08-9432-4646
|
ประชาชนทั่วไป ที่สนใจ ต้องการขอรับแบบแปลน นำไปถ่ายเอกสาร เพื่อประกอบการยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร สามารถติดต่อขอใช้บริการได้ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นใด (นอกจากค่าถ่ายเอกสาร) ได้ที่ กองช่าง สำนักงานเทศบาลตำบลเวียงพางคำ ชั้นที่ ๒ ได้ทุกวัน เวลาราชการ
หากไม่ได้รับความสะดวก หรือมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น สามารถแจ้งเหตุขัดข้อง โทรศัพท์สายด่วน ร้องเรียน-ร้องทุกข์ 08-6421-8191 หรือติดต่อตรง นายกเทศมนตรี (นายฉัตรชัย ชัยศิริ) 08-9434-6430 หรือ ปลัดเทศบาล (ร.ท.กิตติชัย เจริญยิ่ง) 08-9432-4646
|
โครงการแบบบ้านเพื่อประชาชน
สรุปราคาก่อสร้างโดยสังเขป และบัญชีแสดงปริมาณงาน
ค่าวัสดุ ค่าแรงและค่าก่อสร้าง
|
ลำดับที่
|
แบบบ้าน
|
รายละเอียด
|
พื้นที่ใช้สอย / ตร.ม.
|
ขนาดพื้นที่ดิน
/ ตารางวา
|
งบประมาณ / บาท
|
ฐานรากแผ่
|
ตอกเสาเข็ม
|
ไทยช่วยไทย --> บัญชีแสดงปริมาณงาน ค่าวัสดุ ค่าแรงงานและค่าก่อสร้าง : |
1
|
บ้านผู้ประสบภัย 1 |
ใต้ถุนโล่ง 1 ห้องนอน
|
36.00
|
30.00
|
262,000
|
276,000
|
2
|
บ้านผู้ประสบภัย 2 |
สูง 2 ชั้น 1 ห้องนอน
|
43.50
|
20.00
|
282,000
|
294,000
|
3
|
บ้านผู้ประสบภัย 3 |
แบบเรือนแถว 10 ห้องนอน
|
322.00
|
-
|
1,648,000
|
1,784,000
|
4
|
บ้านแบบประหยัด 1 |
ชั้นเดียว 1 ห้องนอน
|
30.00
|
25.00
|
250,000
|
265,000
|
5
|
บ้านแบบประหยัด 2 |
ใต้ถุนสูง 1 ห้องนอน
|
56.00
|
25.00
|
456,000
|
487,000
|
6
|
บ้านแบบประหยัด 3 |
สูง 2 ชั้น 2 ห้องนอน
|
82.00
|
25.00
|
537,000
|
557,000
|
ครอบครัวไทยเป็นสุข --> บัญชีแสดงปริมาณงาน ค่าวัสดุ ค่าแรงงานและค่าก่อสร้าง : |
7
|
บ้านครอบครัวไทยเป็นสุข 1 |
ชั้นเดียว 2 ห้องนอน
|
77.00
|
50.00
|
540,000
|
579,000
|
8
|
บ้านครอบครัวไทยเป็นสุข 2 |
ชั้นเดียว 3 ห้องนอน
|
113.36
|
70.00
|
922,000
|
985,000
|
9
|
บ้านครอบครัวไทยเป็นสุข 3 |
สูง 2 ชั้น 3 ห้องนอน
|
125.90
|
50.00
|
1,015,000
|
1,083,000
|
10
|
บ้านครอบครัวไทยเป็นสุข 4 |
สูง 2 ชั้น 4 ห้องนอน
|
179.35
|
75.00
|
1,493,000
|
1,578,000
|
11
|
บ้านครอบครัวไทยเป็นสุข 5 |
สูง 2 ชั้น 4 ห้องนอน
|
169.09
|
85.00
|
1,355,000
|
1,422,000
|
12
|
บ้านครอบครัวไทยเป็นสุข 6 |
สูง 2 ชั้น 4 ห้องนอน
|
230.75
|
100.00
|
1,608,000
|
1,718,000
|
13
|
บ้านครอบครัวไทยเป็นสุข 7 |
สูง 2 ชั้น 4 ห้องนอน
|
240.44
|
90.00
|
1,970,000
|
2,080,000
|
14
|
บ้านครอบครัวไทยเป็นสุข 8 |
สูง 2 ชั้น 4 ห้องนอน
|
382.95
|
135.00
|
2,659,000
|
2,795,000
|
ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย --> บัญชีแสดงปริมาณงาน ค่าวัสดุ ค่าแรงงานและค่าก่อสร้าง : |
15
|
ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคกลาง 1 |
สูง 2 ชั้น 4 ห้องแถว
|
605.60
|
20.00
|
4,399,000
|
4,423,000
|
16
|
ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคกลาง 2 |
สูง 3 ชั้น 4 ห้องแถว
|
810.40
|
20.00
|
4,910,000
|
5,362,000
|
17
|
ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคกลาง 3 |
สูง 4 ชั้น 4 ห้องแถว
|
1,015.20
|
20.00
|
5,719,000
|
5,942,000
|
18
|
ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคอิสาน 1 |
สูง 2 ชั้น 4 ห้องแถว
|
605.60
|
20.00
|
4,357,000
|
4,433,000
|
19
|
ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคอิสาน 2 |
สูง 3 ชั้น 4 ห้องแถว
|
810.40
|
20.00
|
5,041,000
|
5,491,000
|
20
|
ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคอิสาน 3 |
สูง 4 ชั้น 4 ห้องแถว
|
1,015.20
|
20.00
|
5,909,000
|
6,130,000
|
21
|
ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคใต้ 1 |
สูง 2 ชั้น 4 ห้องแถว
|
605.60
|
20.00
|
4,483,000
|
4,485,000
|
22
|
ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคใต้ 2 |
สูง 3 ชั้น 4 ห้องแถว
|
810.40
|
20.00
|
5,069,000
|
5,544,000
|
23
|
ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคใต้ 3 |
สูง 4 ชั้น 4 ห้องแถว
|
1,015.20
|
20.00
|
5,962,000
|
6,183,000
|
24
|
ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคเหนือ 1 |
สูง 2 ชั้น 4 ห้องแถว
|
605.60
|
20.00
|
4,421,000
|
4,444,000
|
25
|
ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคเหนือ 2 |
สูง 3 ชั้น 4 ห้องแถว
|
780.40
|
20.00
|
5,025,000
|
5,466,000
|
26
|
ตึกแถวไทยอนุรักษ์ไทย ภาคเหนือ 3 |
สูง 4 ชั้น 4 ห้องแถว
|
1,015.20
|
20.00
|
5,904,000
|
6,125,000
|
บ้านไทยอนุรักษ์ไทย --> บัญชีแสดงปริมาณงาน ค่าวัสดุ ค่าแรงงานและค่าก่อสร้าง : |
27
|
บ้านไทยอนุรักษ์ไทย ภาคกลาง |
สูง 2 ชั้น เรือนใหญ่
|
338.37
|
100.00
|
2,125,000
|
2,257,000
|
28
|
บ้านไทยอนุรักษ์ไทย ภาคใต้ |
สูง 2 ชั้น เรือนใหญ่
|
243.30
|
80.00
|
1,541,000
|
1,633,000
|
29
|
บ้านไทยอนุรักษ์ไทย ภาคอิสาน |
สูง 2 ชั้น เรือนใหญ่
|
242.00
|
75.00
|
1,632,000
|
1,746,000
|
30
|
บ้านไทยอนุรักษ์ไทย ภาคเหนือ |
สูง 2 ชั้น เรือนใหญ่
|
332.88
|
100.00
|
1,999,000
|
2,138,000
|
บ้านรวมน้ำใจไทย --> บัญชีแสดงปริมาณงาน ค่าวัสดุ ค่าแรงงานและค่าก่อสร้าง : |
31
|
บ้านผู้ประสบภัย 1 |
ห้องน้ำภายนอก
|
24/3
|
-
|
48,369
|
-
|
32
|
บ้านผู้ประสบภัย 2 |
ห้องน้ำภายนอก
|
32/3
|
-
|
49,703
|
-
|
33
|
บ้านผู้ประสบภัย 3 |
ห้องน้ำภายใน
|
32
|
-
|
48,937
|
-
|
|
ห้องน้ำ บ้านรวมน้ำใจไทย |
-
|
3
|
-
|
3,443
|
-
|
|